วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ไก่ชน

ประวัติไก่ชนไทย

ตำนานและประวัติไก่ชนกับพระนเรศวรการตีไก่ เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในพม่า โดยเฉพาะในราชสำนักถือกันว่า การตีไก่เป็นกีฬาชาววังวันหนึ่งได้มีการตีไก่กันขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับไก่มังชัยสิงห์ ราชนัดดา(ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชาในสมัยพระเจ้านันทบุเรง ราชโอรสพระเจ้าบุเรงนอง กำลังกร่ำศึก) มังชัยสิงห์จึงขัดเคืองตรัสประชดประชันหยามหยันออกมา อย่างผู้ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า “ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ” สมเด็จพระนเรศวรสวรจึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่าง วันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้มังชัยสิงห์คัดเคืองมากหากแต่ตระหนักดีว่าสมเด็จพระนเรศวร เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าบุเรงนองจะพาลวิวาทก็ยำเกรงฝีมือพระนเรศวร ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี กำลังชนกันอย่างทรหด ต่างตัวต่างเข้าจิก ตีฟาดแข้ง แทงเดือยอย่างไม่ลดละ อย่างคาดไม่ถึง ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวันเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ของพระนเรศวรกระพือปีกอย่าง ทรนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงกับสะอึก สะกดพระทัยไว้ไม่ได้จากตำราเชื่อว่าไก่ที่พระนเรศวรทรงนำไปชนกับพม่านั้น นำไปจากบ้านกร่าง เดิมเรียกว่าบ้านหัวเท ซึ้งอยู่ห่างจากเมืองพิษณุโลก ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 9 กิโลเมตร ขณะที่ชนไก่ พ.ศ. 2121 พระชันษา 23 ปี ลักษณะทั่วไปของไก่ชนพระนเรศวร เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ พันธุ์เหลืองหางขาว ตามตำรากล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง ในทุกพื้นที่ที่มีการเล่นไก่ชน ไก่เหลืองหางขาวมักจะเป็นตัวเอกทุกๆ สังเวียนอยู่เสมอ หรือแทบจะเรียกได้ว่าไก่พันธุ์นี้อยู่ในความครอบครองของนักเลงไก่อยู่เสมอ ไก่เหลืองหางขาวจัดว่าเป็นไก่ที่มีสกุลและมีลักษณะเด่นมาก จากประวัติฝีมือความสามารถ ทำให้มีการพูดเสมอในวงพนันว่า ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ หมายความว่าเมื่อนำไก่สีนี้ไปตี สามารถที่จะเชื่อมั่นได้ว่า จะต้องเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอนสามารถสั่งเหล้าเงินเชื่อมากินก่อนได้เลย ไก่เหลืองหางขาวที่มีลักษณะตรงตามตำราหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง สร้อยระย้า หน้านกยูง อกชัน หวั้นชิด หงอนบิด ปากร่อง พัดเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม
 วิธีการดูเเล
การเลี้ยงไก่สำหรับชนนั้น มีหลายอย่างหลายชนิดแล้วแต่ครูบาอาจารย์ใดจะสั่งสอนมา แต่ที่จะนำมากล่าวนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด ระยะการปล้ำและทำตัวไก่หนุ่ม ไก่หนุ่มที่จะเริ่มเลี้ยงครั้งแรก ต้องลงขมิ้นให้ทั่วทั้งตัวเสียก่อน เพื่อสะดวกในการอาบน้ำ และป้องกันไรได้ดีอีกด้วย
  1. 1.         เริ่มอาบน้ำเวลาเช้าทุกวัน ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ ลงกระเบื้อง เนื้อตัวบาง ๆ แล้วลงขมิ้นตามเนื้อบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดด พอรู้ว่าหอบก็นำไก่เข้าร่ม อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายหอบจึงจะให้กินน้ำได้ไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มากเพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า
  2. 2.         อาบน้ำประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรกสัก 2 ยก ๆ ละไม่เกิน 12 นาที ซ้อมสัก 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ซ้อมยกละ 15 นาที รวมแล้วให้ได้ 6 ยก ระยะการปล้ำแต่ละครั้งควรจะมีเวลาห่างกันประมาณ 10 -15 วันพอครบกำหนดแล้วต้องถ่ายยาตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
วิธีล่อ
เวลาประมาณบ่าย 2 โมงเย็น เอาน้ำเช็ดตัวไก่ที่เลี้ยงเล็กน้อย แล้วเอาไก่ที่เป็นไก่ล่อ จะเป็นการล่อทางตรงหรือทางอ้อมก็แล้วแต่สะดวก แล้วล่อไก่ให้ย้าย คือเอาไก่ล่อ ๆ วนไปข้างซ้าย 10 รอบ เย้ายวนไปทางขวา 10 รอบ ย้ายจนกว่าไก่ตัวถูกล่อจะไม่ล้มจึงจะใช้ได้ แล้วล่อให้ไก่บินบ้าง ล่อประมาณ 20 - 25 นาทีก็พอ พอเสร็จจากการล่อเอาขนไก่ปั้นคอ พอหายเหนื่อยแล้วอาบน้ำได้ เสร็จแล้วผึ่งแดดให้ขนแห้งแล้วกินอาหารได้
การใช้ขมิ้น
ทุกครั้งเวลาอาบน้ำไก่ในตอนเช้า ต้องใช้กระเบื้องอุ่น ๆ ประคบหน้าพอสมควร ถ้ามากนักจะทำให้หน้าเปื่อย แล้วทาขมิ้นบาง ๆ ทุกครั้ง บางคนใช้ทาเฉพาะหน้าอก ขา ใต้ปีก ตามเนื้อเท่านั้น (ใช้ได้เหมือนกัน)
การปล่อยไก่
ไก่ที่เลี้ยงไว้ชนพอเวลาแดดอ่อนๆควรได้ปล่อยไก่ให้เดินตามสนามหญ้าแพรกนอกจากจะให้ไก่ได้เดินขยายตัวแล้ว ไก่ยังมีโอกาสได้กินหญ้าไปในตัวด้วย วิธีแก้ไขให้น้ำหนักตัวลด เวลาไก่ชนที่เลี้ยงอ้วนเกินไปน้ำหนักตัวจะมากบินไม่ขึ้น ควรผึ่งแดดให้หอบนาน ๆ หากไก่ผอมมากไปไม่ควรให้ถูกแดดมากเกินไป เวลานอนควรให้นอนบนกาบกล้วย หรือเอาน้ำเย็นเช็ดตัวบาง ๆ ก่อนนอน การนอนควรนอนในมุ้งทุกคืนเพื่อมิให้ยุงไปรบกวน ไก่จะได้นอนหลับสบาย การเลี้ยงไก่ถ่าย การเลี้ยงไก่ถ่าย หรือไก่ที่เปลี่ยนขนตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป วิธีเลี้ยงเช่นเดียวกับไก่หนุ่ม ผิดกันตรงที่ไก่ถ่ายต้องปล้ำให้ได้ที่ คือปล้ำครั้งละ2 ยก ยกละ 15 นาที จำนวน 5 ครั้ง รวม 10 ยก หรือปล้ำจนกว่าจะบินไม่ล้ม แล้วผึ่งแดดให้นานกว่าไก่หนุ่มหน่อย นอกนั้นเหมือนกันหมด
ยาถ่ายไก่
ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้
  1. 1.         เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว
  2. 2.         มะขามเปียก 1 หยิบมือ
  3. 3.         ไพลประมาณ 5 แว่น
  4. 4.         บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ
  5. 5.         น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว
  6. 6.         ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน) ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง
ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน
น้ำสำหรับอาบไก่
ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้
  1. 1.         ไพลประมาณ 5 แว่น
  2. 2.         ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ
  3. 3.         ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น
  4. 4.         ใบมะกรูด 5 ใบ
  5. 5.         ใบมะนาว 5 ใบ
เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง
ยาบำรุงกำลังไก่
ยาบำรุงที่นิยมกันมากมีหลายขนาน แต่จะยกมาขนานเดียว คือ
  1. 1.         ปลาช่อนใหญ่ย่างไฟ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง 1 ตัว
  2. 2.         กระชายหัวแก่ ๆ ประมาณ 2 ขีด (แห้ง)
  3. 3.         กระเทียมแห้ง 1 ขีด
  4. 4.         พริกไทย 20 เม็ด
  5. 5.         บอระเพ็ดแห้ง 1 ขีด
  6. 6.         นกกระจอก 7 ตัว
  7. 7.         หัวแห้วหมู 1 ขีด
  8. 8.         ยาดำพอประมาณ
นกกระจอกนำไปย่างไฟแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปตำให้ป่น ปลาช่อนก็ตำให้ป่น แล้วนำทั้ง 8 อย่างมาผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดพุทราให้กินวันละ1 เม็ดก่อนนอนทุกวันจนกว่าไก่จะชน ยาบางตำราไม่เหมือนกันแต่ได้ผลดีทั้งนั้น แต่ไปแพ้กันตรงที่ไก่เก่งไม่เก่งเท่านั้น ไก่ที่นำไปชนทุกครั้งถ้าไม่ได้ชน กลับมาจะต้องฉะหน้าถอนแข้งทุกครั้ง ๆ ละ 5 นาที 1 ครั้ง ก่อนจะนำไปชนต่ออีก
วิธีให้น้ำไก่ขณะกำลังชน

การใช้น้ำไก่เป็นสิ่งจำเป็นในการชนไก่เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าท่านให้น้ำไก่ไม่เป็น เอาไก่ไปชนโอกาสแพ้มีมาก มือน้ำเท่านั้นเป็นผู้ชี้ชะตาไก่ของท่าน เพราะฉะนั้นท่านต้องเป็นคนให้น้ำไก่เก่งๆ จึงจะสู้เขาได้ วิธีให้น้ำไก่ก่อนชน ท่านต้องใช้ผ้ามุ้งบาง ๆ ชุบน้ำเช็ดตัวให้ทั่วตัวทุกเส้นขน แต่อย่างให้ปีกเปียก (เพราะปีกเป็นอุปกรณ์สำคัญในการต่อสู้) แล้วเช็ดให้แห้ง ให้กินข้าวสุก จนอิ่มแล้วปล่อยให้เดินเพื่อจะได้ขยายตัว และแต่งตัวเรียบร้อยแล้วนำไก่เข้าชน พอหมดยกที่ 1 เอาผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าอก และใต้ปีกเสียก่อนจึงค่อยเช็ดตามตัวให้ทั่ว แล้วตรวจบาดแผลตามหัว ตามตัวว่ามีผิดปกติหรือเปล่า ตรวจดูตา ตรวจดูปากให้เรียบร้อย ถ้าปากฮ้อ ก็เตรียมผูก ถ้าตาหรี่ก็ควรเสนียดตา หรือถ่างตา เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กินข้าวสุกที่บดไว้ ประมาณ 3 - 4 ก้อน แตงกวาแช่น้ำมะพร้าวอ่อน พอให้อิ่มแล้วเอาไก่นอน ๆ ประมาณ 5 นาที หลังจากนอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอากระเบื้องอุ่นมาเช็ดตามตัว ตามหน้าแข้ง ขาให้ทั่วบริเวณที่ถูกตี แล้วปล่อยให้เดิน และให้ไก่ถ่ายออกมาเพื่อจะได้ให้ตัวเบา (ยกต่อไปก็ทำเหมือนยกที่ 1 จนกว่าจะแพ้ ชนะกัน)
วิธีรักษาพยาบาลหลังจากไก่ชนแล้ว
ตามปกติไก่ที่ชนมาแล้วจะมีบาดแผลมากน้อยแล้วแต่กำหนดเวลาการต่อสู้ บางตัวก็ชนะเร็ว บางตัวก็ชนะช้าบาดแผลก็มีมาก เวลาชนเสร็จแล้วควรใช้เพนนิซิลิน อย่างเป็นหลอดทาตามหน้าให้ทั่ว เพื่อไม่ให้หน้าตึง อย่าใช้ขมิ้นเป็นอันขาด ถ้าบาดแผลมากจริงควรใช้ยาพวกสเตปโตมัยซิน หรือฉีดยาเทอรามัยซิน หรือจะให้กินยาเต็ดตร้าไซคลินก็ได้ วันละ 1 เม็ด ตอนเย็น ประการสำคัญ อย่าให้ทับตัวเมียเป็นอันขาด หลังจาก 1 เดือนไปแล้วให้ทับได้

. ลูกตาลเชื่อม จาวตาลเชื่อม

          จาวตาลเชื่อม บางคนเรียกว่า ลูกตาลเชื่อม ขนมไทยโบราณหากินยาก ราคาก็แพงใช่เล่น แต่ถ้าได้ทำเองจะคุ้มสุด ๆ ขอแนะนำจาวตาลเชื่อม สูตรจาก รายการครัวคุณต๋อยสูตรโบราณ ปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมีในการล้าง เนื้อจาวตาลจะแน่นหอมหวาน อร่อยจริง ๆ นะขอบอก

ส่วนผสม ลูกตาลเชื่อม จาวตาลเชื่อม

          • จาวตาล 7 กิโลกรัม
          • ฟางข้าว (สำหรับผสมน้ำเปล่าล้างจาวตาล)
          • สารส้ม (สำหรับผสมน้ำเปล่าล้างจาวตาล)
          • น้ำสะอาด (สำหรับล้างจาวตาล)
          • น้ำตาลทราย 4 กิโลกรัม
          • น้ำเปล่า (สำหรับต้มจาวตาล)

วิธีทำลูกตาลเชื่อม

          • 1. เอาเปลือกจาวตาลออก เอารากออก เสร็จแล้วนำมาล้างกับฟางข้าวผสมน้ำเปล่า 1 ครั้ง เพื่อเอาเมือกออก และล้างกับสารส้มผสมน้ำเปล่า 1 ครั้ง สุดท้ายล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 3 ครั้ง 
          • 2. ต้มน้ำเปล่าให้เดือด ใส่จาวตาลลงไปลวกประมาณ 10-15 นาที หรือจนจาวตาลสุก ตักออกมาพักไว้สักครู่
          • 3. แบ่งน้ำตาลทรายประมาณ 2 กิโลกรัมใส่ลงไปบนจาวตาล ใส่น้ำเปล่าพอท่วม ปิดฝา ตั้งไฟรอจนเดือดประมาณ 15 นาที เปิดฝา เอาน้ำสะอาดพรมหน้าจาวตาล ใส่น้ำตาลทรายที่เหลืออีก 2 กิโลกรัม ปิดฝา ตั้งไฟรอจนเดือดประมาณ 20 นาที ตักขึ้นมาใส่ภาชนะเพื่อกลับด้านบนลงล่างให้จาวตาลดูดซึมน้ำเชื่อมให้เท่ากัน
          • 4. ตั้งน้ำเชื่อมรอจนเดือด ช้อนฟองออก ใส่จาวตาลลงไปต้มต่ออีกประมาณ 20 นาที ตักใส่ภาชนะ พร้อมเสิร์ฟ

          ขนมเชื่อม 6 สูตรน่ากินทั้งนั้นเลยค่ะ มีทั้งสูตรมันเชื่อม ทุเรียนเชื่อม ฟักทองเชื่อม กล้วยเชื่อม และจาวตาลเชื่อม แถมเก็บไว้ได้นานอีกด้วย นี่ถ้ากินอาหารรสเผ็ดมาก็คว้าขนมไทยเชื่อมมากินสบายอุรา หรือถ้าซื้อพวกกล้วย หรือทุเรียนมาเยอะแล้วคาดว่ากินไม่หมดชัวร์ ๆ ก็จัดการนำมาเชื่อมได้เลยค่ะ จะได้ไม่เสียของเนอะ 

กล้วยเชื่อม


          เย้ย ! คุณสามีซื้อกล้วยไข่มาหลายหวีแบบนี้กินเป็นอาทิตย์ก็ไม่หมด ถ้าอย่างนั้นเอามาทำกล้วยไข่เชื่อมสูตรจากครัวบ้านพิม สูตรขนมเชื่อมนี้ใช้กล้วยไข่ห่าม เนื้อจะไม่นิ่มมาก แต่ก็หวานฉ่ำ สำหรับคนที่ชอบกินแบบนิ่ม ๆ ให้ใช้กล้วยไข่สุกเหลืองค่ะ 

ส่วนผสม กล้วยไข่เชื่อม

          • กล้วยไข่ห่าม ๆ 2 หวี
          • น้ำตาลทรายขาว 450 กรัม
          • น้ำสะอาด 400 กรัม

ส่วนผสม กะทิสำหรับราด


          • หัวกะทิ 2 ถ้วย
          • เกลือป่น (หยิบมือ)
          • แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ช้อนโต๊ะ + 1/2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำกล้วยไข่เชื่อม


          • 1. ปอกเปลือกกล้วยไข่ออก ดึงเส้นดำออกให้หมด ตัดหัว-ท้ายเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม แช่ไว้ในน้ำผสมเกลือนิดหน่อย เพื่อไม่ให้กล้วยเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ๆ (แต่ถ้าหากปอกแล้วเชื่อมเลย ก็ไม่ต้องแช่)

          • 2. ผสมน้ำกับน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วนำไปตั้งไฟ คนให้ละลาย (จะได้เป็นน้ำเชื่อม) แล้วนำมาลงกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนตาถี่ ๆ ครั้งหนึ่ง 

          • 3. จากนั้นก็เทใส่กลับคืนหม้อ แล้วนำไปตั้งไฟเคี่ยวต่อเรื่อย ๆ (แรก ๆ ตอนน้ำเชื่อมยังใสอยู่ เราจะเห็นว่าฟองตอนเดือดเขาจะเป็นฟองค่อนข้างใหญ่ แต่เมื่อยิ่งน้ำเชื่อมข้นมากขึ้นเท่าไหร่ ฟองก็จะยิ่งเล็กลงค่ะ) เคี่ยวจนน้ำเชื่อมให้ลดลงไปประมาณ 1/4 ก็จะได้น้ำเชื่อมที่มีความเหนียวได้ที่ 

          • 4. นำกล้วยไข่ลงไปเชื่อม ใช้ไฟกลาง ๆ ค่อนมาทางอ่อน (เพื่อค่อย ๆ ให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อกล้วย พร้อมกับความร้อนจากน้ำเชื่อมที่จะทำให้กล้วยค่อย ๆ ระอุ และก็สุกในที่สุดพร้อม ๆ กับซึมซับน้ำเชื่อมได้เต็มที่)

          • 5. ตักใส่จาน ราดกะทิ พร้อมเสิร์ฟ
 
วิธีทำกะทิสำหรับราดหน้า

          วิธีที่ 1: สำหรับหัวกะทิที่คั้นโดยไม่ใช้น้ำ ให้เอาหัวกะทิผสมเกลือป่นเล็กน้อยแล้วนำไปตั้งไฟอ่อนคนไปเรื่อย ๆ จนกะทิข้นขึ้น 

          วิธีที่ 2: สำหรับหัวกะทิที่คั้นแบบใส่น้ำ หรือกะทิกล่อง ให้เอาหัวกะทิ 2 ถ้วย ผสมกับแป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ช้อนโต๊ะ + 1/2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นหยิบมือ (ใส่พอให้มีรสเค็มปะแล่ม ๆ) คน ๆ ให้แป้งละลายเข้ากับหัวกะทิก่อน แล้วค่อยนำไปตั้งไฟกลาง ๆ ระหว่างตั้งไฟก็ใช้ตะกร้อมือคนเรื่อย ๆ จนกระทั่งแป้งสุกและกะทิข้น พอกะทิสุกข้นแล้วก็ยกลงจากเตา ตั้งพักไว้ให้เย็น

ฟักทองเชื่อม

. ฟักทองเชื่อม

          เพื่อน ๆ คงคุ้นเคยกับฟักทองแกงบวดใช่ไหมคะ ลองเปลี่ยนแนวมาทำเมนูฟักทองเชื่อมกันดีกว่า ส่วนผสมหลัก ๆ มีแค่ฟักทองกับน้ำตาลทราย เพิ่มกลิ่นหอมจากใบเตย ใครยังไม่เคยกินลองทำดูค่ะ รับรองว่าติดใจแน่นอน

ส่วนผสม ฟักทองเชื่อม

          • ฟักทอง 1/2 ลูก (เลือกที่เนื้อแน่นจะทำให้ฟักทองเชื่อมมีเนื้อเหนียว)
          • น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
          • น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง
          • ใบเตย 5 ใบ

วิธีทำฟักทองเชื่อม

          • 1. หั่นฟักทองออกเป็นชิ้นหนา ๆ ใช้มีดคว้านไส้ออกให้สวยงาม (ถ้ามีน้ำปูนใสให้นำฟักทองไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วสะเด็ดน้ำเตรียมไว้)
          • 2. ใส่น้ำตาลทรายลงในหม้อเชื่อม ตามด้วยน้ำเปล่า และใบเตย นำขึ้นตั้งไฟอ่อนคนให้น้ำตาลทรายละลายหมด
          • 3. ใส่ฟักทองลงไปในหม้อแล้วเร่งเป็นไฟแรงสุด จากนั้นรอจนเดือดแล้วลดเป็นไฟอ่อน (ใช้ความร้อนแค่พอเดือดปุด ๆ) เชื่อมฟักทองไปเรื่อย ๆ (ไม่ต้องคนเพราะจะทำให้น้ำตาลเกาะกันเป็นก้อน) ประมาณ 1 ชั่วโมง และหมั่นตักน้ำเชื่อมในหม้อราดลงบนชิ้นฟักทองที่ไม่โดนน้ำเชื่อมด้วย เชื่อมจนฟักทองสุกและใส ปิดไฟ พักไว้จนเย็น ตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ

ทุเรียนเชื่อมนะจ๊ะ

. ทุเรียนเชื่อม

          หน้าทุเรียนทีไรต้องซื้อมาตุนไว้ บ่อยครั้งที่กินไม่หมดก็ทิ้ง แอบรู้สึกเสียดายเลยอยากทำขนมเชื่อมเก็บไว้กินนาน ๆ สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากทำทุเรียนเชื่อม ขอยกตัวอย่างสูตรจาก คุณน้องอิง_มนุษย์เหงือก สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม สูตรนี้กลิ่นทุเรียนไม่แรง เนื้อเหนียวแน่นหนึบหนับ เก็บไว้กินได้หลายวันทั้งในอุณหภูมิห้องและในตู้เย็นอีกด้วย

ส่วนผสม ทุเรียนเชื่อม

          • ทุเรียนหมอนทองไม่สุก
          • น้ำปูนใส
          • น้ำเปล่า
          • น้ำสะอาด 4 ถ้วยตวง
          • น้ำตาลทราย 500 กรัม

วิธีทำทุเรียนเชื่อม

          • 1. เอาเมล็ดทุเรียนออก แช่น้ำปูนใสทิ้งไว้ 30 นาที รอครบกำหนดเอาขึ้นมาล้างน้ำเปล่าและวางไว้ให้สะเด็ดน้ำบนกระชอน 
          • 2. ตั้งหม้อใส่น้ำสะอาดและน้ำตาลทรายลงไปต้มใช้ไฟแรง ต้มประมาณ 15 นาที 
          • 3. ใส่เนื้อทุเรียนลงไป รอจนทุเรียนสุก ตักใส่ภาชนะ วางพักทิ้งไว้ให้เย็น พร้อมเสิร์ฟ

มันสำปะหลังงทอดดนะคะ

. มันสำปะหลังเชื่อม

          ขนมเชื่อมเมนูแรกที่คุ้นเคยคือ มันสำปะหลังเชื่อม วิธีทำแสนง่าย จับมันสำปะหลังหั่นชิ้นให้เรียบร้อยแล้วนำไปเคี่ยวกับน้ำตาลจนขึ้นเงา ปิดท้ายด้วยการราดกะทิก่อนเสิร์ฟ ถ้ากินไม่หมดก็แช่เย็น หรือเก็บไว้ในภาชนะปิดมิดชิดวางไว้ที่อุณหภูมิห้องก็ได้ค่ะ ถ้ารู้สึกว่าอยากกินของหวานเมื่อไรก็แวะมาเปิดกินวันละชิ้น แป๊บเดียวก็หมด

ส่วนผสม มันสำปะหลังเชื่อม

          • มันสำปะหลัง 1 หัว
          • น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
          • น้ำลอยดอกมะลิ 5 ถ้วย (หรือน้ำผสมกลิ่นมะลิ)

ส่วนผสม กะทิสำหรับราด


          • หัวกะทิ 1 ถ้วย
          • แป้งข้าวโพด 1/2 ช้อนโต๊ะ
          • เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำมันสำปะหลังเชื่อม


          • 1. หั่นมันสำปะหลังเป็นท่อนสั้น ๆ ปอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด เตรียมไว้
          • 2. ใส่น้ำตาลทรายลงในกระทะเทฟลอน (หรือกระทะทองเหลืองถ้ามี) ตามด้วยน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ไฟกลางเคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด
          • 3. เมื่อน้ำเชื่อมเดือดแล้วใส่มันสำปะหลังลงไปต้มจนมันเริ่มสุกบางส่วนแล้วลดเป็นไฟอ่อน จากนั้นเชื่อมมันไปเรื่อย ๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับขนาดของมันสำปะหลังที่เราหั่น) จนน้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อมัน และเนื้อมันมีลักษณะใส ปิดไฟ พักไว้
          • 4. ทำกะทิสำหรับราดโดยละลายแป้งข้าวโพดกับหัวกะทิเล็กน้อย ใส่เกลือป่นลงไปคนให้แป้งละลายหมดแล้วนำขึ้นตั้งไฟอ่อนคนไปเรื่อย ๆ จนส่วนผสมข้นและเหนียว ปิดเตา พักไว้จนเย็น
          • 5. ตักมันสำปะหลังเชื่อมใส่ถ้วย ราดด้วยกะทิ พร้อมเสิร์ฟ
ขึ้นชื่อว่าเป็นคนไทยนั้นไซร้จะไม่รู้จักเมนูขนมหวานแสนอร่อยอย่างกล้วยบวชชี ที่เป็นอีกหนึ่งขนมหวานพื้นบ้านของคนไทยยอดนิยม เชื่อเถอะว่าร้านขนมไทยเกือบจะทุกร้านจะต้องมีเมนูนี้วางขายอยู่ด้วย เพราะสามารถทำได้ง่าย และอร่อยมากนั่นเองค่ะ วันนี้กระปุกคุกกิ้งจึงไม่พลาดที่จะนำสูตรกล้วยบวชชีหวานหอมมาฝาก


 สิ่งที่ต้องเตรียม

          กล้วยน้ำว้าห่าม 8 ลูก

          หางกะทิ 500 มิลลิลิตร

          ใบเตย 2 ใบ

          น้ำตาลปี๊บ 4 ช้อนโต๊ะ

          น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ

          เกลือปริมาณเล็กน้อย

          หัวกะทิ 400 มิลลิลิตร


 วิธีทำ


          1. ต้มกล้วยน้ำในน้ำเดือด นานประมาณ 3-5 นาที จนผิวกล้วยเริ่มแตกออก ตักขึ้น ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ

          2. ต้มหางกะทิกับใบเตยจนเดือด ใส่กล้วยตามด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย และเกลือ ต้มจนเดือดอีกครั้ง ใส่หัวกะทิลงไป ต้มจนเดือดประมาณ 3 นาที ตักใส่ถ้วย พร้อมรับประทาน